วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การสร้างความสุขเพื่ออยู่ร่วมกันของมนุษย์

     มนุษย์ทุกคนเกิดมาจะอยู่คนเดียวไม่ได้ จะต้องมีการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นและจะต้องมีการปรับตัว เพราะแต่ละคนจะต้องทีการแตกต่างกันทั้งในด้านร่างกาย ด้านความคิดความสนใจ ทัศนะคติและความสามารถต่างๆ ตลอดจนความแตกต่างของสถานะด้วย ซึ่งความแตกต่างเหล่านี้ อาจจะเป็นตัวที่ทำให้เกิดปัญหาต่างๆขึ้น หรือทำให้เกิดความขัดแย้ง ความไม่พอใจทำให้ไม่มีความสุขได้
            แต่ในการอยู่ร่วมกันนั้น โดยทั่วไปมนุษย์ต้องการแสวงหาความสุข ความพอใจในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในแง่มนุษย์สัมพันธ์สุขภาพจิตยึดหลักที่ว่า คนที่มีสุขภาพจิตดี คือคนที่มีชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข การรู้จักตัวเองและทำให้คนอื่นมีความสุข มีความพอใจในการอยู่ร่วมกับเราด้วย รู้จักพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีความรับผิดชอบ  มีระเบียบวินัย    มีความซื่อสัตย์  มีความเสียสละ มีความสามัคคี การที่ทุกคนมีความพร้อมกาย พร้อมใจ และพร้อมความคิดเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ หรือช่วยกันคิดสร้างสรรค์ความเจริญให้เกิดแก่ส่วนรวม ไม่คิดเพื่อประโยชน์ส่วนต
            แม้ว่าคนเราจะมีความแตกต่างแต่ทุกคนก็ยางมีความต้องการคล้ายๆกัน คือ ต้องการที่จะมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุข โดยเฉพาะการมีมนุษย์สัมพันธ์กับบุคลรอบข้างจะเป็นวิธีการสร้างความสุขในการอยู่ร่วมกันของมนุษย์

ที่มา: กิตติกร  มีทรัพย์. อยู่อย่างไรให้เป็นสุข. พิมพ์ครั้งที่ 3.  กรุงเทพฯ : ธุรกิจการพิมพ์, 2553

การสร้างความสุขเพื่ออยู่ร่วมกันของมนุษย์

การสร้างความสุขเพื่ออยู่ร่วมกันของมนุษย์
มนุษย์เราทุกคนเมื่อเกิดมานั้นไม่สามารถที่จะอยู่คนเดียวได้  ดังนั้นมนุษย์จึงต้องมีการปรับตัวเพื่อที่จะได้เข้ากับผู้อื่นได้  เพราะมนุษย์เราแต่ละคนนั้นมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป  ไม่ว่าจะเป็นความคิด  ร่างกาย  หรือ จิตใจ  จนกระทั่งรวมไปถึงความสามารถต่างๆ  ซึ่งความแตกต่างเหล่านี้สามารถทำให้เกิดปัญหาหรือความขัดแย้งกันในชุมชนได้  เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วมนุษย์จึงต้องการที่จะสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเพื่อจะได้อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขในสังคม
การที่มนุษย์สร้างมนุษย์สัมพันธ์ต่อกันนั้นก็เพื่อเป็นแนวทางที่จะอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างมีความสุข  ซึ่งวิธีการสร้างความสุขนั้นก็มีอยู่ด้วยกันหลายวิธีดังนี้
1.               เป็นคนที่มีอัธยาศัยดี  คือ  ยิ้มแย้มแจ่มใสทั้งสีหน้าและแววตา  และรู้จักทักทายผู้อื่นเวลาที่เจอหน้ากัน
2.               เป็นบุคคลที่เปิดใจกว้าง  คือ  ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  และไม่มีอคติกับผู้อื่น
3.               มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน  คือ  รู้จักช่วยเหลือผู้อื่นยามเดือดร้อน
4.                รู้จักการให้อภัยแก่ผู้อื่น  คือ  เมื่อผู้กระทำผิดแล้วกล้ายอมรับกับสิ่งที่ตนเองทำก็ควรที่จะให้อภัยเขา
5.               รู้จักเข้าร่วมหรือมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกับผู้อื่นในสังคม
6.               รู้จักชื่นชมกับความสำเร็จของคนอื่น
  1. รู้จักระมัดระวังการพูดของตนเอง เพราะการพูดกับผู้อื่นนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก  คือ  เราต้องการที่จะให้ผู้อื่นทำอะไรให้ก็ควรพูดแบบตรงไปตรงมาและที่สำคัญควรพูดพูดแบบเผชิญหน้าดีกว่าพูดลับหลัง
8.               เป็นบุคคลที่เปิดเผย  คือ  เป็นบุคคลที่มีความจริงใจให้กับผู้อื่น  ไม่เสแสร้งแกล้งทำ  คบกันที่จิตใจไม่ใช่คบกันเพื่อผลประโยชน์ทางใดทางหนึ่งเพียงเท่านั้น
9.               รู้จักเคารพศักดิ์ศรีและให้เกียรติผู้อื่น
10.         เป็นบุคคลที่ตรงต่อเวลาและรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย
11.         เป็นคนมองโลกในแง่ดี
12.         ไม่เป็นบุคคลที่เห็นแก่ตัว
13.         ตระหนักถึงคุณค่าของความแตกต่าง  เพราะ  คนเราแต่ละคนนั้นมีลักษณะนิสัยที่แตกต่างกัน
14.         สร้างเป้าหมายที่มีคุณค่าร่วมกัน 
15.         เห็นใจผู้อื่นยามเป็นทุกข์  คือ  ไม่ตอกย้ำซ้ำเติมผู้อื่นเวลาที่มีความสุข
16.         ทำตัวเป็นกันเอง  คือ  ไม่วางมาดข่มเหงผู้อื่น  หรือทำตัวเย่อหยิ่ง
17.         รู้จักปรับปรุงตนเอง  คือ  ควรหาข้อบกพร่องของตนเองและปรับปรุงข้อบกพร่องนั้นให้หายไปเสีย
18.         เข้าใจตนเอง  คือ  เข้าใจความต้องการของตนเองว่าตนเองต้องการอะไรหรือไม่ต้องการอะไร
19.         เข้าใจบุคคลอื่น  คือ  รู้ถึงความต้องการหรือปัญหาของผู้อื่น
20.         เข้าใจสิ่งแวดล้อม  คือ  เรียนรู้ธรรมชาติของสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเรา
ดังนั้นหากเราสามารถที่จะปรับตัวหรือสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่นได้นั้นก็สามารถทำให้เราอยู่ร่วมกับคนอื่น
ได้อย่างมีความสุข