การพัฒนาหลักสูตรมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเขียนวิสัยทัศน์ และพันธกิจ เพราะว่า
การเขียนวิสัยทัศน์ เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในการเขียนหลักสูตร เพราะว่าการเขียนวิสัยทัศน์จะเป็นกรอบในการกำหนดทิศทางในการกำหนดเนื้อหาที่จะนำมาใส่ในหลักสูตรนั้นๆ โดยวิสัยทัศน์จะเป็นมุมมองของผู้จัดทำหลักสูตรว่าต้องการที่จะพัฒนาหลักสูตรไปทางทิศทางใด และการเขียนวิสัยทัศน์จะต้องเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมและชุมชนที่โรงเรียนหรือสถานศึกษานั้นตั้งอยู่
การกำหนดพันธกิจ เป็นสิ่งที่ต้องกระทำ และถือเป็นภาระหน้าที่สำคัญที่จะต้องดำเนินการให้ครบถ้วนตามกระบวนการพัฒนาหลักสูตร เพราะว่า พันธกิจจะเป็นตัวชี้วัดที่บ่งบอกถึงโรงเรียนหรือสถานศึกษาต้องปฏิบัติอย่างไรบ้าง เช่น พันธะกิจของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มีพันธกิจ คือ จัดการศึกษา วิจัย บริการวิชาการ และทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น
ดังนั้น การพัฒนาหลักสูตรของการเรียนเพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียนและการนำไปใช้ได้ในชีวิตของผู้เรียน และสามารถนำความรู้ที่ได้รับนั้นไปทำประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้เป็นอย่างดี จึงมีการจัดหลักสูตรเพื่อพัฒนาการทางด้านการศึกษาเพราะการพัฒนาหลักสูตร คือ การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรให้ได้ผลดียิ่งขึ้น โดยหลักการพัฒนาหลักสูตรมี 2 นัย คือ
1. การปรับปรุงหลักสูตร คือ การแก้ไขหลักสูตรบางส่วนที่กำลังใช้อยู่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น รวมทั้งการปรับปรุงสร้างสรรค์วัสดุหลักสูตร และวัสดุอื่นๆ ที่ผู้เรียนต้องใช้การพัฒนาหลักสูตรในลักษณะนี้ไม่ทำให้แนวคิดพื้นฐาน และรูปแบบของหลักสูตรเปลี่ยนไป
2. การเปลี่ยนแปลงหลักสูตร คือ การสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่โดยเปลี่ยนจากรูปแบบเก่าทั้งระบบ ทุกองค์ประกอบของหลักสูตร บางครั้งอาจเรียกว่า การยกร่างหลักสูตร การจัดทำหลักสูตร หรือการสร้างหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องมีการดำเนินงานเป็นระเบียบแบบแผนต่อเนื่องกันไป ซึ่งเริ่มจากการวางจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานนี้จะต้องคำนึงจึงจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาหลักสูตรว่าจะเริ่มต้นที่ใดก่อนและดำเนินการอย่างไรจึงจะเป็นการพัฒนาหลักสูตรรวมถึงผลงานต่างๆ ทางด้านหลักสูตรต่างๆ ที่ได้สร้างขึ้นมาใหม่อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าหลักสูตรเดิมต้องคำนึงถึงการดำเนินงาน วิธีการต่างๆ รวมทั้งหลักการและแนวปฏิบัติเพื่อให้การพัฒนาหลักสูตรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพแล้วจะต้องมีการฝึกอบรมครูประจำการให้เข้าใจในหลักสูตรใหม่ รวมทั้งทักษะในด้านต่างๆ และต้องคำนึงถึงประโยชน์ในด้านการพัฒนาจิตใจและทัศนคติของนักเรียนด้วย ต้องได้รับความร่วมมือและการประสานงานอย่างดีจากเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในทางด้านหลักสูตรทุกๆ ด้าน และต้องมีผู้นำที่ชำนาญมีความสามารถในหน้าที่การงานเป็นอย่างดี โดยการเรียนการสอนจะดำเนินไปตามวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับผู้บริหาร และครูผู้สอนจะต้องรู้ถึงหลักการของหลักสูตร และวิธีใช้ด้วย การรู้หลักการจะช่วยให้ครูอ่านหลักสูตรได้เข้าใจดียิ่งขึ้น
ระดับของการพัฒนาหลักสูตรแบ่งได้ดังนี้
- หลักสูตรระดับชาติ หรือหลักสูตรแม่บท เป็นหลักสูตรแกนกลางที่เขียนไว้กว้างและบรรจุสาระที่จำเป็นต่อทุกคนในประเทศจะต้องเรียนรู้เหมือนกัน และเพื่อเสริมสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของชาติไว้
- หลักสูตรระดับท้องถิ่น เป็นการนำเอาหลักสูตรระดับชาติมาใช้โดยพิจารณาถึงลักษณะของท้องถิ่นเพิ่มเติมทั้งนี้เพื่อเน้นให้เหมาะสมกับลักษณะพิเศษของแต่ละท้องถิ่น และลักษณะของผู้เรียน และเป็นการเรียนรู้ที่นำไปใช้ในชีวิตจริง
- หลักสูตรระดับห้องเรียน สังคมจะเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับหลักสูตรระดับนี้ บุคคลที่สำคัญในเรื่องนี้คือ ครู ครูส่วนมากมักเข้าใจผิดคิดว่าตนเองไม่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรแต่จริงแล้วครูนำเอาหลักสูตรระดับชาติและระดับท้องถิ่นมาปรับใช้ให้เหมาะสมและให้บรรลุจุดมุ่งหมายตามที่หลักสูตรได้กำหนดไว้ ครูที่สอนแต่ละคนในวิชาต่างๆ ก็จะให้กระบวนการพัฒนาหลักสูตรทั้งระบบ(โดยเป็นระบบย่อย) คือ รู้จุดมุ่งหมายของกาสอนเรื่องนั้นๆ วิชานั้นๆ ว่ามีความหมายความจำเป็นแก่ผู้เรียนอย่างไรทำไมจึงต้องสอน สามารถ ใช้วิธีสอน สื่อการสอน หนังสือเรียน แบบฝึกหัด สามารถวัดผลและประเมินผล เพื่อดูพฤติกรรมของนักเรียนว่าได้เปลี่ยนแปลงไปตามจุดมุ่งหมายหรือไม่
ขั้นตอนของการพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการต่อเนื่องตั้งแต่การจัดทำหลักสูตรฉบับร่างทดลองใช้ จัดทำหลักสูตรฉบับจริง ดำเนินการใช้หาแนวทางที่ดีในการใช้ ปรับปรุงกระบวนการใช้ และปรับปรุงตัวหลักสูตรซึ่งอาจจะต้องหมุนเวียนกระทำซ้ำ ตั้งแต่ขั้นดำเนินการ การใช้อีกหลายครั้งหลายหนต่อเนื่องกันไปจนกว่าจะเปลี่ยนหลักสูตรทั้งหมดให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม งานพัฒนาหลักสูตร
แบ่งออกเป็นขั้นตอนใหญ่ 4 ขั้น
แบ่งออกเป็นขั้นตอนใหญ่ 4 ขั้น
ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ ข้อมูลที่สำคัญ คือ ความจำเป็นและความต้องการของสังคมที่มีต่อการจัดการศึกษาประเภทนั้นๆ และระดับนั้นๆ ปรัชญาการศึกษาก็ทำให้สามารถเตรียมการสร้างหลักสูตรได้เหมาะสม แนวคิดทางจิตวิทยาจะช่วยนำทางให้จัดหลักสูตรได้เหมาะสมกับธรรมชาติของผู้เรียน
ขั้นที่ 2 ขั้นจัดทำและวางแผนการใช้หลักสูตร จากการประมวลความรู้โดยใช้ข้อมูลจากขั้นที่แล้วผนวกกับความรู้ความคิดของผู้เชี่ยวชาญเนื้อหาวิชา นักทฤษฎีการสอนจะเป็นที่มาของหลักการจุดหมายและโครงสร้างเนื้อหาวิชารวมทั้งลักษณะของการจัดประสบการณ์การเรียนการสอน สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ องค์ประกอบของการใช้หลักสูตรอันได้แก่ ความเข้าใจและการยอมรับของผู้บริหารการศึกษา ความพร้อมของหน่วยงานสนับสนุนทั้งทางด้านการเงินจะช่วยทำให้ทราบสภาพความพร้อมและแก้ปัญหาได้ล่วงหน้า
ขั้นที่ 3 ขั้นดำเนินการใช้หลักสูตร ในระหว่างที่หลักสูตรกำลังใช้อยู่และยังไม่ครบถ้วนตามกำหนดเวลา การประเมินผลการใช้หลักสูตรจะช่วยให้ทราบปัญหาและอุปสรรค์ของกระบวนการใช้หลักสูตร อันเป็นแนวทางให้รีบปรับปรุงแก้ไขกระบวนการใช้ให้สามารถบรรลุ
ขั้นที่ 4 ขั้นตรวจสอบผลของการใช้หลักสูตร การประเมินผลรวบยอดจะจัดทำเมื่อหลักสูตรใช้ไปครบถ้วนตามกำหนดเวลาซึ่งจะช่วยให้ได้ข้อมูลว่าหลักสูตรสามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนตรงตามเป้าประสงค์ของหลักสูตรหรือไม่ ควรจะแก้ไขจุดหมายของหลักสูตรอย่างไรหรือควรหาทางปรับปรุงกระบวนการใช้หลักสูตรหรือไม่
ผู้มีส่วนเกี่ยวของในการพัฒนาหลักสูตร ต้องมีการร่วมมือกันหลายฝ่ายเพื่อให้ผลงานออกมาตรงเป้าหมาย ได้แก่
1. นักบริหารหลักสูตร ได้แก่ อธิบดีกรมวิชาการ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาหลักสูตร ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาหนังสือฯ
2. นักวิชาการ ได้แก่ อาจารย์ในมหาลัยและสถาบันการศึกษาต่างๆ
3. ครู อาจารย์ ศึกษานิเทศก์
4. นักบริหาร ได้แก่ ผู้บริหารในระดับต่างๆ
5. บุคคลภายนอก ได้แก่ บุคคลอื่นๆ นอกจากที่กล่าวมาและเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตร
6. หน่วยสนับสนุนการใช้หลักสูตร ได้แก่
- หน่วยผลิตชุดการสอน และวัสดุอุปกรณ์
- หน่วยผลิตสื่อสารการเรียนการสอนอื่นๆ
- หน่วยนิเทศและประสานงาน
- หน่วยทดสอบและประเมินผลการเรียนในโรงเรียน
- หน่วยแนะแนวในโรงเรียน
ผลที่ได้จากการพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรจะรวมไปถึงการพัฒนาเนื้อหาวิชาที่จะต้องสอน และเนื้อหาวิชาในตำราที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนด้วย งานของการพัฒนาหลักสูตรอาจกล่าวได้ว่าเป็นหน้าที่โดยตรงของผู้เชี่ยวชาญทางด้านหลักสูตร ครูผู้สอน และนักวิชาการในการจัดวางเนื้อหาวิชา ร่วมกันทำการพัฒนาหลักสูตรโดยการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงและจัดดำเนินไปด้วยดีและได้ผลตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้
การพัฒนาหลัดสูตรเป็นงานที่เห็นผลช้าเพราะต้องคอยดำเนินไปทีละขั้น แล้วจึงขยายผลงานกว้างขึ้นในการดำเนินงาน ย่อมจะเกิดผลประโยชน์แก่นักเรียนดังต่อไปนี้
- มีความสามารถเกี่ยวกับทักษะในด้านต่าง ๆ เด็กจะสามารถอ่านและเขียนได้อย่างคล่องแคล่ว เมื่อเรียนจบหลักสูตรมัธยมศึกษาแล้วมีความคิดริเริ่มเป็นอย่างดี
- มีความรู้พอที่จะศึกษาต่อในชั้นสูงได้ เด็กย่อมจะมีความรู้ความสามารถพอที่จะเรียนในชั้นสูงและมีความสนใจในด้านการเรียนพอสมควร ซึ่งในการพัฒนาหลักสูตรจำเป็นที่จะต้องเน้นให้เด็กได้มีความรู้เบื้องต้น
- ประพฤติตนเป็นพลเมืองดีของสังคม ในระหว่างที่เด็กศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียนนั้นๆ กิจกรรมต่างๆ และการเรียนรู้ทางวิชาการภายในโรงเรียนจะช่วยส่งเสริมให้เด็กได้รู้จักหน้าที่ของตนในฐานะพลเมืองของชาติและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม รู้จักประพฤติและปฏิบัติตนให้ถูกต้อง
- มีจิตใจและร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ มีการพัฒนาหลักสูตรมุ่งที่จะพัฒนาเด็กในด้านร่างกายและจิตใจให้แข็งแรง มีความรู้และทักษะต่างๆ
- มีความเข้าใจและรักษาความงามตามธรรมชาติ โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในเมืองหลวงไม่คุ้นเคยกับธรรมชาติการพัฒนาหลักสูตรจำเป็นที่จะให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติที่สวยงามเห็นคุณค่าของธรรมชาติ
- มีวัฒนธรรมและศีลธรรมที่ดีงาม โดยมีวัฒนธรรมที่ถูกต้อง รู้จักประพฤติในสิ่งที่ดีมีความรับผิดชอบ รู้จักกาละเทศและประพฤติในสิ่งที่สังคมยกย่องว่าดีงามควรกระทำ รวมทั้งมีจิตใจที่เมตตากรุณาต่อผู้อื่น
- มีความสนใจและเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในด้านใดด้านหนึ่งเพียงอย่างเดียว การพัฒนาหลักสูตรจะเป็นการส่งเสริมความรู้และความสามารถโดยเฉพาะของเด็ก โดยการจัดโปรแกรมการเรียน การสอน และหลักสูตรให้สอดคล้องตามความต้องการและความสามารถของเด็กสามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพได้ผลดียิ่งขึ้น
2.2 การพัฒนาหลักสูตรมีความจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมีคณะกรรมการในการพัฒนาหลักสูตร/หน้าที่ที่เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรมีความจำเป็นอย่างยิ่งต้องมีคณะกรรมการในการพัฒนาหลักสูตร เพราะว่า คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรสามารถตรวจสอบกลั่นกรองให้ความเห็นชอบ และข้อเสนอแนะนำเกี่ยวกับเนื้อหาของหลักสูตรเพื่อให้มีความถูกต้องด้านวิชาการ มีความทันสมัย เป็นเอกภาพและสอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันตลอดหลักสูตร และสามารถพิจารณาการจัดทำเอกสารหลักสูตรให้มีความถูกต้องสอดคล้องตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรในด้านรูปแบบ หัวข้อ การใช้คำหรือภาษา โดยมีการประเมินคุณภาพหลักสูตรตามตัวบ่งชี้คุณภาพที่กำหนดไว้ในหลักสูตร และตัวบ่งชี้คุณภาพที่มหาวิทยาลัยหรือสถานศึกษากำหนด และสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2553 ที่กำหนดไว้ว่า สถานศึกษาต้องมีคณะกรรมการหลักสูตรของสถานศึกษาที่จะต้องประกอบไปด้วย ผู้บริหาร ครูอาจารย์ ผู้ปกครอง ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญทางด้านหลักสูตรที่มีในท้องถิ่น หรือในสถาบันการศึกษาเพื่อทำหน้าที่ในการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาโดยมีบทบาท และหน้าที่ดังนี้
1) วางแผนการดำเนินงานวิชาการ กำหนดสาระ รายละเอียดของหลักสูตรระดับสถานศึกษา และแนวการจัดสัดส่วนสาระการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน สภาพเศรษฐกิจ สังคม และศิลปวัฒนธรรม
2) จัดทำคู่มือการบริหารหลักสูตร และงานวิชาการของสถานศึกษา นิเทศ กำกับ ติดตามให้ คำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร การจัดกระบวนการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และการแนะแนวให้สอดคล้องเป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3) ส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรการจัดกระบวนการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล โดยมีการแนะแนวให้เป็นไปตามจุดหมาย และแนวทางการดำเนินการของหลักสูตร
4) ประสานความร่วมมือจากบุคคล หน่วยงาน องค์กรต่างๆ และชุมชน เพื่อให้การใช้หลักสูตรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ
5) ประชาสัมพันธ์หลักสูตร และการใช้หลักสูตรแก่นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และผู้ที่เกี่ยวข้องโดยนำข้อมูลย้อนกลับจากฝ่ายต่างๆ มาพิจารณาเพื่อปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาต่อไป
6) ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้
7) ติดตามผลการเรียนของนักเรียนรายบุคคล ระดับชั้น และระดับกลุ่มวิชาในแต่ละปีการศึกษา เพื่อปรับปรุง แก้ไขและพัฒนาการดำเนินงานด้านต่างๆ ของสถานศึกษา
8) ตรวจสอบ ทบทวน ประเมินมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูและการบริหารหลักสูตร ระดับสถานศึกษาในรอบปีที่ผ่านมา แล้วใช้ผลการประเมินเพื่อวางแผนพัฒนาการ ปฏิบัติงานของครูและการบริหารหลักสูตรปีการศึกษาต่อไป
9) รายงานผลการปฏิบัติงานและผลการบริหารหลักสูตรของสถานศึกษา โดยเน้นผลการพัฒนาคุณภาพนักเรียนต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการบริหารหลักสูตรระดับเหนือสถานศึกษา สาธารณชน และผู้เกี่ยวข้อง
ดังนั้นพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2553 ที่กำหนดไว้ว่า สถานศึกษาต้องมีคณะกรรมการหลักสูตรของสถานศึกษา ที่จะต้องประกอบไปด้วย ผู้บริหาร ครูอาจารย์ ผู้ปกครอง ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญทางด้านหลักสูตรที่มีในท้องถิ่น หรือในสถาบันการศึกษาเพื่อทำหน้าที่ในการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา
ดังนั้นจึงพอสรุปได้ว่า การพัฒนาหลักสูตรมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร เพื่อที่จะได้ทำบทบาทหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ และพัฒนาหลักสูตรให้เป็นหลักสูตรที่น่าเรียนน่าศึกษา และเป็นประโยชน์ต่อตัวผู้เรียนสืบต่อไป
2.3 หลักสูตรที่พัฒนาจะเป็นหลักสูตรอิงมาตรฐานได้อย่างไร และนำเสนอแนวคิดในการนำมาตรฐานไปสู่ความสำเร็จ
หลักสูตรที่เราพัฒนาขึ้นจะเป็นหลักสูตรที่อิงมาตรฐานได้ก็ต่อเมื่อการพัฒนาหลักสูตรนั้นอิงกับมาตรฐานของหลักแกนกลาง 2551 โดยหลักสูตรที่มีมาตรฐานนั้นจะต้องมีการกำหนดเป้าหมาย การเรียนรู้ หรือกรอบทิศทางในการกำหนดเนื้อหา ทักษะกระบวนการ มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และมีการวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ และแนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรอิงมาตรฐานไปสู่ความสำเร็จนั้นกระทำตามแนวคิดของไทเลอร์ (Tyler)ได้ดังนี้
1. การกำหนดวัตถุประสงค์ ต้องมีวัตถุประสงค์ที่สถาบันการศึกษาที่ต้องการบรรลุ
2. การเลือกเนื้อหารสาระและประสบการณ์การเรียนรู้ มีวิธีการคัดเลือกประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรจึงจะบรรลุ
3. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ จัดการเรียนรู้อย่างไรจึงจะทำให้กระบวนการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ
4. การประเมินผลการเรียนรู้
ดังนั้นการที่จะพัฒนาหลักสูตรขึ้นเป็นหลักสูตรที่อิงมาตรฐานได้นั้นต้องมีการนำมาตรฐานการเรียนรู้นั้นมากำหนดเป็นเป้าหมายค่อยทำการออกแบบการเรียนการสอนให้มีความเหมาะสมกับผู้เรียน โดยครูผู้สอนต้องมาออกแบบการเรียนการสอนให้ตรงกับวัตถุประสงค์ทำการวิเคราะห์เนื้อหารสาระต่างๆ นำไปพัฒนา นำไปใช้ และทำการประเมินผล