วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

10 ข้อ เฮี้ยวของเด็กวัยรุ่นไทยในปัจจุบัน

1. นิยมวัตถุมากขึ้นโดยความเท่ดูจากการใช้จ่ายซื้อสินค้า นิยมเรียกชื่อตัวเองและตามด้วยชื่อยี่ห้อสินค้าดัง เช่น กันกุชชี่, ผึ้งดิออร์
2. ขี้เหงาขึ้น ผลวิจัยพบว่าวัยรุ่นมัธยมอยู่คนเดียวได้ไม่เกิน 10-30 นาที ส่วนเด็กมหาวิทยาลัยอยู่ได้ครึ่งวัน และติดคุยโทรศัพท์มือถือ
3.  กินไม่เป็นบริโภคแต่อาหารขยะ
4.  หมกมุ่นเซ็กซ์ มีเพศสัมพันธ์เร็วขึ้น ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข  พบว่า  เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี มีเพศสัมพันธ์ 20-30% และทำแท้งเฉลี่ยปีละ 100,000-300,000 คน มีพฤติกรรมสวิงกิ้งจนกลายเป็นเซ็กซ์เอื้ออาทร
5.  แพ้ไม่เป็น วัยรุ่นฆ่าตัวตายสูงขึ้น
6.  รักไม่เป็น แยกไม่ออกระหว่างความรักกับความใคร่
7.   ก้าวร้าว รุนแรง พูดจาแข็งกระด้าง
8.  ติดพนัน ชอบวัดดวง
9.  ขี้เมามากขึ้น ข้อมูลจากสาธารณสุขพบว่า  วัยรุ่นหญิงอายุ 15-19 ปี กินเหล้าเพิ่มขึ้น 6 เท่า มากเป็นอันดับ 1 ในเอเชีย และเป็นอันดับ 5 ของโลก
10.  มีพฤติกรรมเสี่ยงตาย เช่น แข่งรถ มั่วเซ็กซ์  คิดว่าตายไม่เป็น
สาเหตุที่เด็กไทยมีคุณสมบัติเช่นนี้ เพราะว่า  ครอบครัวมีปัญหาล่มสลาย พ่อแม่เลี้ยงลูกไม่เป็น วัยรุ่น 60-70% ไม่เคยเข้าวัดทำบุญฟังธรรมะ  ขณะที่โรงเรียนสอนธรรมะแบบน่าเบื่อหน่าย  สื่อก็ทำให้เด็กบริโภคนิยมและขี้เหงา และสังคมรัฐบาลไม่มีนโยบายสังคมที่ชัดเจนปล่อยให้สื่อลามกเกลื่อนเมือง

ลองอ่านดูนะครับเผื่อเรามีลักษณะคล้าย  และอาจจะแก้ไขทัน

พัฒนาบุคลากรด้วยหลักปัญญา 3 ฐาน

              ในกระบวนการดำเนินชีวิตของเรานั้น ไม่สามารถหลีกเลี่ยงในเรื่องปัญญา 3 ฐาน ได้ ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงเห็นถึงความสำคัญของปัญญา 3 ฐาน ที่จะมีประโยชน์ในการนำไปใช้ในการพัฒนาบุคลากรเพื่อให้มีความรู้ความสามารถหรือสมรรถนะ มีประสิทธิภาพ และมีศักยภาพ
ปัญญา 3 ฐาน
              ปัญญาทั้ง 3 ด้าน หรือที่ทางพุทธศาสนาเรียกว่า "ไตรสิกขา" นั้น เป็นการระลึกรู้ นึกรู้ในตนเอง โดยมองเป็น 3 สภาวะ คือ กาย (กายกรรม) ใจ (มโนกรรม) ความคิด (วจีกรรม)
              ไตรสิกขา แปลว่า สิกขา 3  หมายถึง ข้อปฏิบัติสำหรับศึกษา, การศึกษาข้อปฏิบัติที่พึงศึกษา, การฝึกฝนอบรมตนในเรื่องที่พึงศึกษา 3 อย่าง คือ
1. อธิสีลสิกขา คือ ศึกษาเรื่องศีล อบรมปฏิบัติให้ถูกต้องดีงาม
2. อธิจิตตสิกขา คือ ศึกษาเรื่องจิต อบรมจิตให้สงบมั่นคงเป็นสมาธิ
3. อธิปัญญาสิกขา คือ ศึกษาเรื่องปัญญา  อบรมตนให้เกิดปัญญาแจ่มแจ้ง
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ ชีวิตที่สร้างสรรค์ สดใสและสุขสันต์ ว่า "ชีวิตนั้นเป็นอันเดียวกันกับการศึกษา" เพราะชีวิตคือ การเป็นอยู่ และการที่ชีวิตเป็นอยู่ดำเนินไป ก็คือ การที่ต้องเคลื่อนไหว พบประสบการณ์ใหม่ๆ และเจอสถานการณ์ใหม่ๆ ซึ่งจะต้องรู้จัก ต้องเข้าใจ ต้องคิด ต้องปฏิบัติ หรือจัดการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหาทางแก้ไขให้ผ่านพ้นหรือลุล่วงไป ทำให้ต้องมีการเรียนรู้ มีการพิจารณาแก้ปัญหาตลอดเวลา สรุปคือ สิกขา คือ การศึกษา
สิกขา คือ การพัฒนาตัวเองของมนุษย์ ให้ดำเนินชีวิตได้ดีงามถูกต้อง ทำให้มีวิถีชีวิตที่เป็นมรรค
ส่วนมรรค คือ ทางดำเนินชีวิต หรือวิถีชีวิตที่ถูกต้องดีงามของมนุษย์ซึ่งเป็นวิถีชีวิตแห่งการเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนาตนคือ สิกขา
              มรรค กับ สิกขา จึงประสานเป็นหนึ่งเดียวกัน
สิกขา คือ การศึกษา ที่ฝึกอบรมพัฒนาชีวิต 3 ด้าน มีดังนี้
สิกขา/ การฝึกศึกษา ด้านสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม จะเป็นสิ่งแวดล้อมทางสังคม คือ เพื่อนมนุษย์ ตลอดจนสรรพสัตว์ หรือสิ่งแวดล้อมทางวัตถุก็ตาม ด้วยอินทรีย์ 5 หรือด้วยกาย วาจา ก็ตาม เรียกว่า ศีล (คำเต็มเรียกว่า อธิสีลสิกขา)
สิกขา/ การฝึกศึกษา ด้านจิตใจ เรียกว่า สมาธิ (คำเต็มเรียกว่า อธิจิตตสิกขา)
สิกขา/ การฝึกศึกษา ด้านปัญญา เรียกว่า ปัญญา (คำเต็มเรียกว่า อธิปัญญาสิกขา)
ศีล คือ สิกขาหรือการศึกษาที่ฝึกในด้านความสัมพันธ์ ติดต่อ ปฏิบัติ จัดการกับสิ่งแวดล้อม ทั้งทางวัตถุและทางสังคม ทั้งด้วยอินทรีย์ต่างๆ และด้วยพฤติกรรมทางกาย –วาจา
ศีลเป็นเหมือนการจัดปรับพื้นที่และบริเวณแวดล้อมให้สะอาดหมดจด เรียบร้อย ราบรื่น แน่นหนามั่งคง มีสภาพที่พร้อมจะทำงานได้สะดวก คล่องแคล่ว
สมาธิ คือ สิกขาหรือการศึกษาที่ฝึกในด้านจิต หรือระดับจิตใจ ได้แก่ การพัฒนาคุณสมบัติต่างๆ ของจิต คือ
ด้านคุณธรรม เช่น เมตตา กรุณา ความมีไมตรี ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เอื้อเฟื่อเผื่อแผ่ สุภาพอ่อนโยน ความเคารพ ความซื่อสัตย์ กตัญญู
ด้านความสามารถของจิต เช่น ความเข้มแข็งมั่นคง ความเพียรพยายาม ความกล้าหาญ ขยัน ความอดทน รับผิดชอบ ความมีสติ สมาธิ
ด้านความสุข เช่น ปิติยินดี ร่าเริงเบิกบานใจ พอใจ
สมาธิเปรียบเหมือนการเตรียมตัวของผู้ทำงานให้มีเรี่ยวแรงกำลัง ความถนัดจัดเจนที่พร้อมจะลงมือทำงาน
ปัญญา คือ สิกขาหรือการศึกษาที่ฝึกหรือพัฒนาในด้านการรู้ความจริง เริ่มตั้งแต่ความเชื่อที่มีเหตุผล ความเห็นที่เข้าสู่แนวทางของความเป็นจริง การรู้จักหาความรู้ รู้คิดพิจารณา ไตร่ตรอง ทดลอง ตรวจสอบ ความรู้เข้าใจ นำความรู้มาใช้แก้ไขปัญหาและคิดการต่างๆ
ปัญญาเป็นเหมือนอุปกรณ์ที่จะใช้ทำงานนั้นๆ ให้สำเร็จ
ตัวอย่างเช่น จะตัดต้นไม้ ได้พื้นที่เหยียบยัน แน่นหนามั่นคง (ศีล) + มีกำลังแขนแข็งแรงจับมีดหรือขวานได้ถนัดมั่น (สมาธิ) + อุปกรณ์คือ มีดหรือขวานที่ใช้ตัดนั้นได้ขนาดมีคุณภาพดีและลับไว้คมกริบ (ปัญญา) = ได้ผลคือ ตัดไม้สำเร็จโดยไม่ยาก
              ดังนั้น การจะเข้าใจปัญญา 3 ฐานหรือไตรสิกขา เริ่มจาก
              ฐานที่หนึ่งคือ "ฐานกาย" เป็นการออกกำลังกายหรือดูแลร่างกายของตนเองให้ถูกต้อง  เพื่อไม่ให้เจ็บป่วย
ในฐานนี้ เป็นการฝึกสติ ด้วยการเลือกใช้การออกกำลังกายที่ทำให้จิตอยู่กับกายให้ได้ และในขณะที่การออกกำลังกายร่วมกันจะช่วยเชื่อมโยงจิตใจคนในองค์กรได้
เพราะฉะนั้น การทำกิจกรรมในฐานกายนี้จะทำให้คนในองค์กรมีร่างกายแข็งแรง เกิดความสนิทสนมกัน และเป็นการพักผ่อนสมอง ซึ่งหากพนักงานทำส่วนนี้ได้จะส่งผลดีต่อองค์กรในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการลาป่วยที่ลดลง การสื่อสารกันในองค์กรดีขึ้น การได้พูดคุยเรื่องงานเล็กๆ น้อยๆ และเป็นการประหยัดเงินให้องค์กร
ฐานที่สองคือ "ฐานใจ" ซึ่งจำเป็นต้องฝึกให้แข็งแรงเช่นกัน เพราะมนุษย์ที่ไม่มีใจ จะไม่รักคนอื่น และที่ผ่านมามนุษย์ถูกสอนหรือทำให้มองแต่ตัวเอง
ในหลายครั้งที่ผู้บริหารในองค์กรใหญ่นำไปใช้ได้ผลทันที เช่น ทำให้เกิดความเมตตากับลูกน้อง ในขณะที่ ในด้านของพนักงานก็ได้ผลทันทีเช่นกัน เช่น ทำให้อัตราการหมุนเวียนต่ำลง เกิดความรักความภักดีต่อองค์กรมากขึ้น ลูกน้องเกิดความเห็นใจลูกพี่ พนักงานสามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ดีขึ้น ทำให้การทะเลาะกันลดลง ฯลฯ   
ฐานที่สามคือ"ฐานคิด" เป็นการคิดในตอนที่"กายผ่อนคลาย จิตว่างหรือจิตสงบ แล้วจึงคิด" ดังนั้น ต้องฝึกฐานกายและฐานใจให้ได้ก่อน ไม่เช่นนั้น หากไม่ได้ฝึกมา การคิดจะเป็นการคิดแบบเครียดหรือที่เรียกว่า "คิดเฉโก" ทั้งหมด
ดังนั้น จุดเริ่มต้นขององค์กรที่จะนำหลักปัญญา 3 ฐานนี้ไปใช้ ส่วนสำคัญที่สุดคือ "ผู้บริหารสูงสุดหรือซีอีโอ" ต้องเข้าใจ และยอมเสียเวลาส่วนหนึ่งของงานมาทำในเรื่องนี้กับผู้ร่วมงานอย่างจริงจัง จริงใจ

การเรียนรู้ คือ ก้าวแรกของการสร้างสรรค์

ในการพัฒนาตนเองนั้นก้าวแรกของเรา คือ การเรียนรู้ พูดเช่นนี้คงไม่ผิดเท่าใดนัก นั่นคือ หากติดกระดุมเม็ดแรกถูก คือ เรียนรู้ในทางที่ถูกต้อง ดีงามแล้ว จะน้อมนำ  และกระทำในสิ่งที่ถูกที่ควรได้ต่อไป
ดังนั้น เริ่มแรกของการคิดอย่างสร้างสรรค์  คือ การเรียนรู้ ซึ่งมีสองอย่าง  คือ การเรียนรู้เพื่อพัฒนาปัญญา และการเรียนรู้เพื่อพัฒนาจิตใจ ซึ่งทั้งสองอย่างที่ต้องกระทำคู่กันไปโดยตลอด
" Learning is finding out what you already know, Doing is demonstrating that you know it, Teaching is reminding others that they know it as well as you do, We are all learners, deers, and teachers."
Richard Bach

" การเรียนรู้  คือ การได้ค้นพบว่า เรารู้อะไรแล้วบ้าง
การได้ลงมือปฏิบัติ  คือ การได้ทดลองให้แน่ใจว่าเรารู้จริง
การสอนผู้อื่นทำให้เราทราบว่า ผู้อื่นนั้นรู้เรื่องต่างๆ เช่นเดียวกับเราเอง
ดังนั้น เราควรเป็นทั้งผู้เรียน ผู้ปฏิบัติ และผู้สอน"
              ดังนั้น ถ้าเมื่อใดที่เรามีอารมณ์ดี  มีจิตใจร่าเริงแจ่มใสจะทำให้เรารับรู้เรื่องราวต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ทำให้เราเข้าใจในสิ่งต่างๆได้ดียิ่งขึ้น อารมณ์หรือจิตใจที่ดีจึงมีส่วนช่วยกระตุ้นให้เกิดความคิดที่ดี หรือเป็นแรงจูงใจ หรือแรงบันดาลใจให้เกิดการใส่ใจหรือใฝ่ใจที่จะเรียนรู้มากขึ้น

คิดดี พูดดี มีสุข

ความคิดเป็นสื่อแทน "ใจ" ที่ถ่ายทอดออกมา สื่อถึงอารมณ์ความรู้สึก ทัศนคติ มุมมองและความเข้าใจในการการรับรู้และการเรียนรู้ ดังกลอนบทที่ว่า
" อันความคิดวิทยาคืออาวุธ
ประเสริฐสุดซ่อนใส่เสียในฝัก
สงวนคมสมนึกใครฮึกฮัก
จึงค่อยชักเชือดฟันให้บรรลัย"
         วันนี้จึงมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ ตัวอย่างในเรื่อง คิดแต่ไม่พูด กับ พูดแบบไม่คิด ให้ได้เรียนรู้กันครับ 
เห็นนักศึกษาสาวเดินมากับเพื่อนสาวด้วยกัน ก็เข้าไปบอกว่า"น้องๆ น่ารักนะ" น้องได้ยินก็กลับไปยิ้มเป็นปลื้มได้ทั้งวัน คุยกับเพื่อนอย่างภูมิใจ เพราะคิดแล้วพูดทำให้เขามีความสุข
ในทางกลับกัน เห็นนักศึกษาสาวเดินมากับเพื่อน มองแล้วคิดว่าเขาสวย มองอย่างเดียว น้องได้เห็นคงนึกในใจว่า จะมองทำไม ความคิดเชิงลบ เพราะไม่รู้เจตนาในการมองหรือความคิด
แต่ถ้าเห็นนักศึกษาสาวเดินมากับแฟน แล้วเข้าไปบอกว่า "น้องๆ น่ารักนะ" น้องก็คงยิ้มภูมิใจ แต่แฟนกับผู้พูดคงได้เกิดเรื่องกันครับ
ไม่ต้องอะไรมาก แค่ไปมองหรือจ้องนักศึกษาสาวในขณะที่เดินกับแฟน ก็ต้องระวังตัวแล้วครับ แต่ทั้งนี้ถ้าหากเปิดใจกัน ก็จะเห็นได้ถึงคุณค่าของคำพูด ซึ่งต้องดูจากการกระทำที่แสดงถึงความจริงใจด้วยครับ
ฉะนั้น ในเรื่องการคิด คิดดี พูดดี มีประโยชน์มาก ดีกว่า คิดแต่ไม่พูด ทั้งนี้  ถ้าคิดดี พูดดี ทำดีแล้ว ต้องให้ถูกกาลเทศะ การมองหรือการคิดโดยไม่สื่อสารหรือไม่บอกให้เหตุผลให้ชัดแจ้งหรือชัดเจน อาจทำให้เกิดความระแวงและมองภาพที่ดีเป็นภาพในเชิงลบได้ครับ
อีกเรื่องหนึ่งที่นำมาให้เรียนรู้คือ การพูดแบบไม่คิด ความจริงไม่ใช่ไม่คิด แต่เป็นการมองโลกในมุมแคบ แบบที่ตนเองเคยเจอเคยเป็นมากกว่า จึงพูดออกมาด้วยความคุ้นเคยหรือเคยชินในสภาพการเปลี่ยนแปลง  ก็ต้องปรับตรงนี้เหมือนกันนะครับ
ในการเรียนมหาวิทยาลัย มีการทำกิจกรรมกลุ่มกัน โดยเฉพาะปี 1 ซึ่งอาจไม่สนิทกับเพื่อนๆ แต่ต้องมานั่งทำกิจกรรมกลุ่มกันกับเพื่อนใหม่ คนใหม่ อาจจะต้องเรียนรู้กันไป
เมื่อจะเริ่มทำงานกลุ่ม ก็ต้องมีเจอกับคำถามที่ว่า "เธอ นาย ทำนี่ได้ไหม ทำโน่นได้ไหม ทำตรงนั้นได้ไหม ?" นั่นเพราะยังไม่รู้เขา เธอ หรือ ฉันจะทำได้หรือไม่
บางคนก็รับปากเพราะเชื่อมั่นในตนเองว่าทำได้ บางคนก็บอกว่าแล้วแต่จัดมา บางคนก็บอกว่า ทำไม่ได้ก็มี สำหรับคนที่ชอบรับปากเพื่อนเพราะต้องการแสดงออก หรือเพราะเหตุผลอื่นๆ มักจะรับปากเพื่อนเสมอด้วยคำว่า "เอามาเถิด ทำได้หมด"
แล้วก็ทำได้หมด แล้วเพื่อนก็หมั่นไส้ ซึ่งห้ามกันไม่ได้ จึงให้งานมาอีก คราวนี้มากกว่าเดิม

  ทำได้ครับ แต่ทำไม่ทัน ผลสุดท้ายเพื่อนก็มาบอกว่า "อ้าว ไหนว่าทำได้ ทำได้  ทำไมไม่ทำให้เสร็จ"
  จึงต้องนั่งทำคนเดียว  เห็นว่าไม่เสร็จแน่ คงต้องชี้แจงกับเพื่อนและช่วยกันให้งานสำเร็จ
คำพูดนี่สำคัญนะครับ ถึงแม้เรื่องนี้จะเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม แต่ก็อาจทำลายมิตรภาพดีๆ ได้ จึงเป็นข้อคิดไว้ว่า อย่าพยายามให้คำพูดทำลายมิตรภาพดีๆ ของกันและกัน และอย่าพยายามรับปากใครส่งๆ หรือรับปากแต่ทำไม่ได้ หรือทำได้เกินหน้าเกินตาคนอื่น ให้เรียนรู้ร่วมกัน ค่อยๆ คิดแก้ปัญหาร่วมกัน ทุกสิ่งทุกอย่างจะสำเร็จ ถ้าทุกคนมีส่วนร่วม มีมิตรภาพ มีไมตรีให้กันครับ
"ถ้าเพื่อนหมายถึงมิตร  มิตรภาพต้องเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด"
"ถ้าเพื่อนหมายถึงศัตรู  มิตรภาพคงไม่เกิดขึ้น"
"มองให้กว้าง เป็นมิตรร่วมโลก มิตรร่วมประเทศ มิตรร่วมทุกข์
และให้มิตรภาพไป สันติภาพจะเกิดขึ้น
คิดดี พูดดี มีสุขครับ"

ปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร

ในบทบาทของครูผู้สอนจะต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการพัฒนาหลักสูตร  ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร  เกิดจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนไม่เข้าใจกระบวนการของการพัฒนาหลักสูตร
                ดังนั้นแนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตร บุคลากรทุกฝ่ายของสถานศึกษาจะต้องศึกษาเรื่องดังต่อไปนี้
1.               ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับหลักสูตร
ความหมายของคำว่าหลักสูตร     
ความหมายของคำว่าหลักสูตรที่เป็นที่ยอมรับในปัจจุบันคือมวลประสบการณ์ทั้งหมดที่จัดใหกับผู้เรียน 
ซึ่งหลักสูตรมีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ จุดมุ่งหมาย  ขอบข่ายเนื้อหา และความสัมพันธ์กับเวลา  โดยรูปแบบหลักสูตรระดับห้องเรียน
2.               ข้อมูลพื้นฐานของการพัฒนาหลักสูตร
ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรที่สำคัญ มี 5 ด้าน  ได้แก่  ด้านปรัชญาการศึกษา  ด้านจิตวิทยา
การศึกษา  ด้านสังคมและวัฒนธรรม  ด้านวิชาการ  ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะต้องนำมาวิเคราะห์  เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนพัฒนาหลักสูตร  และการจัดองค์ประกอบของหลักสูตรที่สัมฤทธิ์ผลต่อไป
3.               รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของสงัด  อุทรานันท์
                สงัด  อุทรานันท์  ได้เสนอแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรโดยยึดหลักการพัฒนาหลักสูตรทั้งระบบ  โดยแบ่งออกเป็นการร่างหลักสูตร  การนำหลักสูตรไปใช้  และการประเมินผลหลักสูตรทั้งระบบอีกด้วย  แบ่งออกเป็นขั้นตอนซึ่งสามารถแสดงเป็นรูปวัฏจักรของกระบวนการพัฒนาหลักสูตรได้ดังภาพประกอบ
                                                                         การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน

                             การประเมินผลการใช้                                                             การกำหนดจุดมุ่งหมาย
                                         หลักสูตร                                                          
                                                                   ปรับปรุง
                                                                     แก้ไข


                                                                                                                                                        
                           การนำหลักสูตรไปใช้                                                                                                        การคัดเลือก
                                                                                                                                                                และจัดเนื้อหาสาระ
                                                             
                                                                                          การกำหนดมาตรการ
                                                                               การวัดและประเมินผล
                                                                                                     
ภาพประกอบ  วัฏจักรกระบวนการพัฒนาหลักสูตรของ  สงัด  อุทรานันท์


รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของวิชัย  วงษ์ใหญ่
วิชัย   วงศ์ใหญ่  (2543 , น. 77)  ได้เสนอรูปแบบและแนวคิดของขั้นตอนกระบวนการพัฒนาหลักสูตรไว้
ดังนี้
1.             การกำหนดจุดมุ่งหมาย  หลักการ  โครงสร้าง  และการออกแบบหลักสูตร
2.             ยกร่างเนื้อหาสาระแต่ละกลุ่มประสบการณ์  แต่ละหน่วยการเรียนและรายวิชา
3.             นำหลักสูตรที่พัฒนาแล้วไปทดลองใช้ในโรงเรียนนำร่องและปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง
4.             อบรมครู  ผู้บริหารทุกระดับ  และบุคลากรทางการศึกษาให้เข้าใจในหลักสูตรใหม่
5.             นำหลักสูตรไปใช้ปฏิบัติการสอนในโรงเรียน  และประกาศใช้หลักสูตร  โดยมีกิจกรรมการใช้หลักสูตรใหม่ ดังนี้
                        การแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน  คือ การจัดทำวัสดุหลักสูตร  ได้แก่  เอกสารและอุปกรณ์การเรียนการสอนที่จำเป็น
                        ผู้บริหารจัดเตรียมสิ่งต่าง ๆ เช่น บุคลากร  วัสดุหลักสูตร และบริการต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่อบรมครูและบุคลากรฝ่ายบริหารหลักสูตร  ห้องสมุด  ห้องเรียน  รวมทั้งการจัดสรรงบประมาณ
                        การสอน  เป็นหน้าที่ของครูปฏิบัติการทั่วไป
                        การประเมินผล  ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การประเมินผลการเรียนของนักเรียน  และการประเมินผลหลักสูตร  ตั้งแต่ประเมินเอกสาร  ผลการนำหลักสูตรไปใช้  และผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ซึ่งจะต้องประเมินอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
4.  การบริหารหลักสูตร
การบริหารหลักสูตร  เป็นการนำกระบวนการบริหารมาใช้ในขั้นตอนการวางแผนหลักสูตร  การนำ
หลักสูตรไปใช้  ตลอดจนการประเมินผลหลักสูตร  ซึ่งการบริหารหลักสูตรใด ๆ ให้มีประสิทธิภาพต้องอาศัยบุคคลที่เกี่ยวข้องร่วมมือกัน  แต่สิ่งที่สำคัญประการหนึ่งที่ผู้บริหารหลักสูตรควรคำนึงถึงคือ การเตรียมครูผู้สอน เพราะว่าครูผู้สอนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่จะช่วยให้การใช้หลักสูตรนั้นบรรลุเจตนารมณ์ของหลักสูตร  โดยครูจะเป็นผู้นำหลักสูตรไปสู่การเรียนการสอนภายในห้องเรียน  ดังนั้น จึงกล่าวไว้ว่า ครูผู้สอน คือ หัวใจของหลักสูตร  และคุณภาพของครูผู้สอนจึงเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะนำไปสู่การบรรลุจุดหมายของหลักสูตร  ด้วยเหตุนี้หน่วยงานที่ผลิตครูนั้น  การผลิตครูหรือพัฒนาครูควรตระหนักถึงคุณภาพของครูด้วย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการผลิตครู  ด้วยเหตุนี้จึงควรผลิตให้มีคุณภาพเพียงพอที่จะออกไปปฏิบัติหน้าที่ตามโรงเรียน และสามารถออกไปใช้หลักสูตรได้  โดยสามารถแปลงหลักสูตรไปสู่การเรียนการสอนได้  ดังนั้น  หน่วยงานที่ผลิตครูควรให้ความสำคัญตั้งแต่การคัดเลือกนักศึกษาเข้ามาเรียนวิชาครูหลักสูตรสำหรับผลิตครู และกระบวนการผลิตครู  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพครู  ส่วนกรณีครูประจำการนั้น  หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องควรมีการพัฒนาครูอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง  มีการติดตามและประเมินผลอย่างจริงจัง  ถ้าทุกฝ่ายให้ความร่วมมือกันที่จะเตรียมและพัฒนาครูให้มีคุณภาพ  การศึกษาในอนาคตของประเทศก็คงจะมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

                5.  นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้
                วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  ถือว่ากระบวนการสำคัญในการจัดการเรียนการสอน  ถ้าครูผู้สอนรู้จักเลือกวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหาสาระ  ก็จะส่งผลต่อการบรรลุตามเป้าหมายของหลักสูตร  อย่างไรก็ตาม  วิธีการจัดการเรียนการสอนต่าง ๆ ก็จะมีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกันไป  ซึ่งจะต้องอาศัยการเรียนรู้กระบวนการเหล่านั้นอย่างเข้าใจ  อันนำไปสู่การออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ  และตอบสนองหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น
                6.  การประเมินหลักสูตร
การประเมินหลักสูตรมีความสำคัญอย่างมากในกระบวนการจัดการศึกษา  เป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการ
ควบคุมคุณภาพ  การประกันคุณภาพของการศึกษาหลาย ๆ ระดับ  ตั้งแต่ระดับห้องเรียน  ระดับโรงเรียน  ระดับเขตจนถึงระดับชาติ  ผู้ที่มีบทบาทในการประเมินทั้งในระดับผู้จัดทำนโยบายการศึกษา  ผู้กำกับดูแล  จนถึงระดับผู้ปฏิบัติ  จึงควรทำความเข้าใจกับประเด็นต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของการประเมินหลักสูตรให้ชัดเจน  เพื่อจะได้กำหนดวางแผนการประเมินหลักสูตรที่สอดคล้องกับเป้าหมายของการประเมิน และสามารถนำผลการประเมินหลักสูตรไปใช้ได้จริง
                7.  การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
                หลักสูตรสถานศึกษาที่มีคุณภาพ  จะต้องเกิดจากความร่วมมือร่วมใจของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา  รวมทั้งบุคลากรที่กี่ยวข้องนอกสถานศึกษา  เพื่อระดมความคิด  ประสบการณ์มาใช้ในการกำหนดหลักสูตรและพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐฏิจและสังคม  รวมทั้งเปลี่ยนไปตามธรรมชาติของการศึกษา
                การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา  มีข้อควรคำนึง 2 ประการ  คือ ต้องเชื่อมโยงกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช 2544 และจะต้องพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ  สถานศึกษาสามารถออกแบบหลักสูตรของตนเองได้อย่างอิสระ  โดยยึดนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหลักวิชาการในการจัดการศึกษาที่มีความถูกต้องเหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ชุมชน และท้องถิ่น  มีความเป็นไปได้
                ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร
                ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร  คือปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการยกระดับของหลักสูตรจากระดับที่เป็นขึ้นสู่อีกระดับหนึ่ง  ปัญหาอันเกิดจากการร่วมคิดร่วมทำ  ร่วมกันสร้างหลักสูตร และร่วมกันนำหลักสูตรไปใช้  มีดังนี้
1.             ปัญหาขาดครูที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
2.             ปัญหาการไม่ยอมรับและไม่เปลี่ยนแปลงบทบาทการสอนของครูตามแนวหลักสูตร
3.             ปัญหาการจัดอบรมครู
4.             ศูนย์การพัฒนาหลักสูตร  ไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน
5.             ขาดการประสานงานที่ดีระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ
6.             ผู้บริหารต่าง ๆ ไม่สนใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร
7.             ปัญหาขาดแคลนเอกสาร เนื่องจากขาดงบประมาณและการคมนาคมขนส่งไม่มีประสิทธิภาพพอ
วิธีการพัฒนาหลักสูตร  มี 5 วิธีการ
1.             การพัฒนาหลักสูตรจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง
2.             การพัฒนาหลักสูตรจากเบื้องล่างสู่เบื้องบน
3.             การพัฒนาหลักสูตรแบบวิธีการสาธิต
4.             การพัฒนาหลักสูตรวิธีการอย่างมีระบบ
5.             การพัฒนาหลักสูตรโดยวิธีเชิงปฏิบัติการ
การพัฒนาหลักสูตรในอนาคต
1.             พัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้  (เครือข่ายวิชาการ  วิชาชีพ)
2.             พัฒนาหลักสูตรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน  (Sustainable Development)
-  จัดหลักสูตรเพื่อการพัฒนาคนต่อเนื่องตลอดชีวิต
                3.  รูปแบบหลักสูตรจะหลากหลายมากขึ้น  เช่น  หลักสูตรการศึกษาภาคพิเศษ  หลักสูตรเฉพาะกิจ  หลักสูตรฝึกอบรม
                4.  เปิดหลักสูตรนานาชาติเพิ่มขึ้น
                5.  มีการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศอย่างน้อย 2 ประเทศ เช่น เวียตนาม  เขมร  ลาว  มลายู
                6.  มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น  การใช้เทคโนโลยีต้องไม่ขัดกับสังคมและสิ่งแวดล้อม  ต้องไม่ให้เทคโนโลยีเป็นนายเรา
7.  หลักสูตรและการเรียนการสอนจะต้องพัฒนาทักษะในการคิด  การศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง  และความสามารถในการสื่อสาร  พัฒนาคนให้คิดกว้าง  คิดไกล  ใฝ่รู้
8.  ให้ผู้เรียนมีความรู้ทั้งเรื่องที่เป็นสากล  นานาชาติ และของไทย  ต้องรู้เขารู้เรา
9.  พัฒนาหลักสูตร ส่วนกลาง 60 % ส่วนท้องถิ่น  40  %
10. จัดการเรียนการสอน โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน  ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา
11. จะต้องมีการประกันคุณภาพทางการศึกทุกระดับ