วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ครู และบุคลากรทางการศึกษาในศตวรรษที่ 21

เรียนอาจารย์ ดร.ประเสริฐ  มงคล  ที่เคารพเป็นอย่างสูง
                จากสิ่งที่กระผม (นายประสิทธิ์  คำพล) ได้เรียนมาตั้งแต่ต้นเทอมจนกระกลางเทอมแล้ว  สิ่งที่กระผมได้รับจากอาจารย์ที่หลายๆ ท่านสอนในภาคการศึกษานี้ก็มีอย่างมากมายจนนับไม่ถ้วน  บางสิ่งบางอย่างก็เคยได้ยินได้ฟังมา  แต่อีกบางสิ่งบางอย่างก็ไม่เคยได้ยินได้ฟังมา (เคยมาฟังที่นี่เป็นที่แรก) มีแต่สิ่งมีประโยชน์ทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์เดิมของอาจารย์ หรือองค์ความรู้ที่อาจารย์เก็บเกี่ยวมาสอนพวกเราทุกคน นิสิตบางคนอาจจะไม่มีองค์ความรู้ทางด้านเหล่านี้เป็นทุนเดิมก็จะกลับไปอ่านหนังสือ  และเอกสารต่างๆ เกี่ยวเนื่องเพื่อทำความเข้าใจให้กับตนเอง  โดยเฉพาะสัปดาห์ที่ผ่านมา (ก่อนที่อาจารย์จะไม่สบาย)  อาจารย์ได้พูดเกี่ยวกับเรา คือ คนที่เป็นครูและอาจารย์ในยุคศตวรรษที่ 21 นี้ ควรจะมีจะเป็นลักษณะใดจึงจะเรียกได้ว่า ครูยุคใหม่ก้าวทันเทคโนโลยี  และตัวนักเรียน นักศึกษาที่ตนเองสอนอยู่  กระผมก็ได้ไปอ่านบทความหนึ่งที่น่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อครูและอาจารย์  โดยบทความนั้นได้เขียนเกี่ยวกับครูและบุคลากรทางการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ว่า 
สังคมไทยในอดีตที่ผ่านมาบุคคลที่มีความรู้ มีประสบการณ์ที่ได้จากการสั่งสมตลอดชีวิต จะทำหน้าที่เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้โดยไม่เน้นการตอบแทน หรือผลประโยชน์ใดๆทั้งสินต่อตัวผู้เรียน ดังนั้น ผู้ที่ถ่ายทอดให้บุคคลนั้นเรียกว่า "ครู" คือ บุคคลที่มีความรู้ ประสบการณ์ ที่ถ่ายทอดในสังคม มีหลากหลายสาขา เช่น ผู้ที่ถ่ายทอดดนตรี ก็จะถูกเรียกว่า "ครูดนตรี" ผู้ที่ถ่ายทอดศิลปะป้องกันตัว ก็จะถูกเรียกว่า "ครูมวย"  ครูที่ถ่ายทอดในเรื่องศีลธรรมก็จะเรียกว่า "ครูพระพุทธศาสนา" เป็นต้น ต่อมามีการพัฒนาระบบการศึกษามากขึ้นทำให้เกิดอาชีพครูมีค่าตอบแทนในการสอน มีสถานที่ถ่ายทอดความรู้หลักแต่จึงมีคนนิยมมาประกอบอาชีพนี้มากขึ้น  มีสถานที่ฝึกหัดครู (ปัจจุบันคือโรงเรียน) เพื่อทำหน้าที่คัดคนที่เก่ง คนดี มาทำการฝึกหัดเพื่อออกไปทำอาชีพครู  รูปแบบการคัดเลือก คือ การคัดคนที่เรียนเก่งที่สุด ดีที่สุด ต่อมาผู้คนที่ต้องการศึกษาขึ้น จึงมีการออกกฎหมายให้มีการศึกษาภาคบังคับ ดังนั้น  จึงมีความต้องการครูมากขึ้นเป็นเงาตามตัวจึงมีการเร่งผลิตครูจำนวนมาก (จนเกลื่อนไปหมด) มีนักเรียนที่เลือกเรียนครูและเรียนจบมาแล้วเกินความจำเป็นของสถาบันผลิตครูเป็นจำนวนมาก  (มีทั้งผ่านเกณฑ์มาตรฐานและไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน สกอ. กำลังดำเนินการอยู่) ทั้งที่สองแข่งขันบรรจุเข้าทำงานเป็นครูได้ก็มี  และสอบไม่ได้ก็มีมากดังปัจจุบัน         
จากเบื้องต้นที่ได้กล่าวมา  ครูในศตวรรษที่ 21 ตามความคิดของข้าพเจ้าน่าจะเป็นครูที่มีความสามารถในหลายๆ ด้าน (ไม่ใช่รู้เพียงอย่างเดียว) มีความสามารถที่รอบรู้ และทันกับโลกที่มีการพัฒนาหรือเกิดการเปลี่ยนเช่นปัจจุบันนี้  ดังนั้นครูในศตวรรษที่ 21 น่าจะมีการจัดการเรียนการสอนที่มีความชัดเจนมาขึ้นทั้งด้านของIT เข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอนให้มีความสอดคล้องกับปัจจุบัน และมีการจัดการเรียนการสอนที่ใหม่ๆ มาให้กับผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้นำไปใช้จริงในอนาคต โดยเฉพาะผู้เรียนยุคศตวรรษที่ 21 ต้องมีคุณลักษณะเป็นดังต่อไปนี้
1.  ผู้เรียนเป็นผู้จัดการเรื่องการเรียนรู้ของตนเอง
2.  การเรียนรู้จะใช้ระบบเครือข่าย
3.  หลักสูตรจะถูกจัดแยกเป็นประเภท (catalogue curriculum) ผู้เรียนมีโอกาสเลือกเรียนหลักสูตรที่หลากหลายมากขึ้น เช่น สามารถเลือกได้ว่าจะเรียนเต็มเวลาในสถานศึกษาทั้งหลักสูตร(full time) หรือจะเรียนที่บ้านทั้งหมด หรือจะเลือกเรียนที่บ้าน และเรียนที่โรงเรียนบางเวลาก็ได้ (flexi– time schooling plan)
4.  มีแผนการเรียนรู้เป็นรายบุคคล (personal learning plan)
5.  การเรียนรู้จากคอมพิวเตอร์จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น
6.  ครูมีบทบาทในฐานะเป็นตัวแทนของการเรียนรู้ (learning agent)
7.  ระบบการประเมินจะหลากหลายมากขึ้น ไม่ได้วัดผลเฉพาะความรู้ในแบบทดสอบเท่านั้น เช่น การสอบวิชาดนตรี จะไม่สอบเฉพาะภาคทฤษฎี ผู้เรียนต้องสอบภาคปฏิบัติด้วย เพราะผู้ที่ทำข้อสอบได้หมด อาจจะเล่นดนตรีไม่ได้เลย
ดังนั้นจากสิ่งที่ได้กล่าวมาทั้งหลายก็พอที่จะสรุปได้ว่า  ช่วงระยะเวลาไม่กี่สิบปีมานี้ หลายๆ ประเทศได้ตื่นตัว และตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องปฏิรูประบบการเรียนรู้ในสถานศึกษาทุกระดับ เพื่อให้พลเมืองในประเทศของตนสามารถแข่งขันในเวทีโลก  ก้าวทันต่อความเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าของโลกในปัจจุบันนี้ให้ได้  อย่างไรก็ตามความพยายามในการปฏิรูปการศึกษาจะไม่มีทางประสบความสำเร็จได้เลยหากไม่ได้รับความร่วมมือจากครู  บุคลากรางกาศึกษา  และผู้บริหารสถานศึกษาโดยเฉพาะผู้บริหารต้องให้การสนับสนุนในทุกๆ ด้านที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการเรียนการสอน  ส่วนตัวครูต้องเปลี่ยนแปลงบทบาท และต้องเรียนรู้วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบใหม่ๆ ด้วย หากครูหรือผู้สอนยังคงใช้วิธีการเดิมๆ หรือมีความเชื่อแบบเดิม ๆ ในการสอน ก็จะทำให้นักศึกษาหรือผู้เรียนไม่สามารถปรับตัวได้เมื่อออกจากสถานศึกษาไปแล้วทั้งนี้เนื่องจากโลกอนาคตนั้นจะมีงานที่ท้าทายผู้เรียนเป็นจำนวนมาก และยังมีปัญหาอีกมากมายที่ผู้เรียนต้องออกไปค้นหาบูรณาการสังเคราะห์ข้อมูลต่างๆ และมองหาวิธีการแก้ปัญหาที่แตกต่างไปจากเดิม นอกจากนี้ยังต้องเรียนรู้ด้วยตนเอง  และต้องรู้จักร่วมมือในการทำงานกับผู้อื่น  ซึ่งการที่จะผลิตคนให้มีคุณลักษณะข้างต้นได้อย่างครบถ้วน ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย  ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หลักการและวิธีการต่างๆ ที่ได้นำเสนอไปแล้วข้างต้น คงจะช่วยให้ผู้อ่านที่เป็นครูในสถานศึกษา หรือเป็นผู้สอนในสถาบันการศึกษาแต่ละแห่งจะสามารถนำหลักการเหล่านี้ไปปรับใช้ในการพัฒนายุทธศาสตร์การเรียนการสอนของตนให้เกิดประสิทธิภาพได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น